วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TEH TARIK , KOPI , CELON - ชาชัก(เตฮ์ตาเระ) โกปี(กาแฟปักษ์ใต้) แซลอง(ชาเมืองตรัง)

วัฒนธรรมการดื่มชา กาแฟ ของหวานทางภาคใต้และพี่น้องชาวมาเลย์
        เรื่องอาหารการกินใครๆก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าตนไม่กินไม่ทานไม่ดื่มซึ่งเป็นไปไม่ได้ และแน่นอนที่สุดทุกคนต้องกิน ต้องทาน ต้องดื่ม ซึ่งรสปาก รสชาต รสมือ รสนิยม ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามท้องที่ ท้องถิ่น และเมื่อพูดถึงเรื่องอาหารการกินของคนไทยในแต่ละภาคแล้ว เราก็อาจจะทราบโดยนัยว่ามีความแตกต่าง หลากหลาย บางอย่างก็คล้ายกัน บางอย่างก็แตกต่างกันจนบางทีเราก็งงๆโดยฐานที่ไม่เข้าใจเอาเสียเลยก็เป็นได้
         เมื่อมีความแตกต่างกันในการกิน เมื่อใดที่เราเข้าไปอยู่ในสังคมแวดล้อมที่มีวัฒนธรรมการกินเช่นนั้น ก็อาจทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และในกาลต่อมาในที่สุด เราก็อาจกลายเป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมนั้นๆเสียเองก็ได้
          วัฒนธรรมการกินของว่าง ของทานเล่น และการกินอาหารพื้นบ้านที่เป็นมื้อย่อยๆ มีหลากหลายไปแต่ละภาคเช่น
1.ภาคเหนือ มักชอบทานขนมเส้นน้ำเงี้ยว ข้าวซอย ฯลฯ
2.ภาคอีสาน มักชอบทานส้มตำ ลาบ ก้อย ของย่าง ของปิ้ง ฯลฯ
3.ภาคกลาง มักชอบทานก๋วยเตี๋ยว ผัดไท น้ำผลไม้ต่างๆ ฯลฯ
4.ภาคตะวันออก มักชอบทานยำต่างๆ พล่าต่างๆ ข้าวหลาม ขนมจาก ฯลฯ
5.ภาคตะวันตก มักชอบทานข้าวแช่ หม้อแกง ฯลฯ
6.ภาคใต้ มักชอบทานขนมจีนกับผักหลายอย่าง หมี่น้ำยา หมี่ผัด ชาชัก โกปี แซลองออ แซลองนม ฯลฯ
          อาหารและของว่างบางชนิด คนในท้องถิ่นรู้จักกันดี และมีอยู่หลายอย่าที่คนในท้องถิ่นนำไปเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายก็มี ซึ่งแน่นอนวัฒนธรรมการกินก็ได้ถูกแพร่หลายออกไป จนบางทีคนในท้องถิ่นเองเป็นผู้ผลิตแต่แทบจะไม่กินเองซะเลยก็มี

        ในที่นี้เราจะมาพูดถึงวัฒนธรรมการกินของพี่น้องทางภาคใต้กันบ้าง
        พี่น้องชาวไทยถิ่นใต้ของเราก็เป็นเจ้าของวัฒนธรรมการกินในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งมีความหลากหลายไม่แพ้ใครเช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าชาวปักษ์ใต้เป็นผู้นำวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งอยู่ในขณะนี้อันเนื่องมาจากปัจจุบันมีร้านอาหารปักษ์ใต้ในทุกๆจังหวัด โดยมีอาหารปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่อก็คือ คั่วกลิ้ง แกงเหลือง แกงพุงปลา ปลาทอดขมิ้น ฯลฯ และของกินยอดนิยมอยู่ในขณะนี้นั่นก็คือ ชาชัก โกปี แซลอง ที่หลายๆคนเริ่มรู้จักกันเป็นอย่างดี
        วัฒนธรรมการบริโภค ชาชัก โกปี แซลอง เป็นลักษณะที่ค่อนข้างผสมผสานระหว่าง มาเลย์ อินโดนีเซีย และปักษ์ใต้ของไทย โดยที่แต่ละชนิดอาจมีชื่อเรียกคล้ายๆกัน แต่บางครั้งก็เรียกต่างกันออกไป แต่ทว่าเมื่อชงออกมาแล้วก็มีรสชาตที่คล้ายๆกัน อาจเบาหวาน หนักหวาน กินร้อนหรืออาจกินเย็นกันไปโดยที่ไม่มีใครลอกแบบของใครไป ซึ่งเราคงต้องมาศึกษากันไปในแต่ละชนิด ว่ามีที่มาที่ไปเช่นไร ดังนี้
เตฮ์ตาเระค์ โกปี แซลอง


        1.เตฮ์ตาเระค์ มาจากคำว่า tea tarik ทีคือชา ส่วนตาเระค์เป็นภาษามลายู ที่หมายถึงการชักคะเย่อ ตนไทยเรียกสั้นๆว่า ชาชัก ไม่อาจสันนิษฐานได้ว่าใครเป็นผู้คิดค้นการชักชา แต่อาจเดาคร่าวๆได้ว่า อาจมีการเทชาที่ชงเสร็จแล้วใส่ในภาชนะแล้วเผอิญว่าเทสูงสักนิดจึงเกิดฟอง จึงได้ทำต่อมาอีกหลายครั้ง ในที่สุดจึงเกิดการพัฒนารูปแบบเป็นท่าทางต่างๆ แต่ท้ายสุดก็สรุปที่จะต้องทำให้เกิดฟองที่ละเอียดที่สุดนั่นเอง ในที่นี้มีตำนานชาชักมาเล่าให้อ่านด้วยครับ

"ตำนานชาชัก"

ตำนาน "ชาชัก" เล่าขานกันว่า เกิดจากชายหนุ่มอิสลามชาวไทยที่เกิดอยู่ใกล้ตะเข็บชายแดน เขาใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าของร้านน้ำชา อยากมีงานทำ จึงเดินทางข้ามไปหางานทำในประเทศมาเลเซีย ที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่ง ณ ที่นั้นเขาได้พบกับลูกสาวแสนสวยของเจ้าของร้านก็เกิดความรัก แต่ก็ถูกกีดกันโดยพ่อแม่ของสาวเจ้า พร้อมทั้งคำสบประมาทแถมท้ายว่า "รอให้ชักชาได้ไม่ขาดสาย และฟาดโรตีให้เหมือนผีเสื้อบิน เหมือนที่พ่อของหญิงคนรักทำได้เสียก่อนแล้วค่อยมาสู่ขอลูกสาว"
ด้วยแรงรักและความมุมานะ ที่อยากจะลบคำสบประสาท ทำให้เขาเพียรพยายามฝึกฝน การชักชาและฟาดโรตีด้วยความเพียรพยายามจนกระทั่งในที่สุด ความพยายามของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จ จึงกลายเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่มีฝีมือในการชักชาได้สวยงามและไม่ขาดสาย ฟาดโรตีได้แผ่กว้างและบินว่อน เสมือนท่วงทำนองขยับปีก ของผีเสื้อที่สวยงาม
ในที่สุดเขาก็สามารถชนะใจพ่อแม่ของสาวคนรักและได้ครองคู่อยู่กับเธออย่างมีความสุข และชายหนุ่มได้สัญญากับสาวคนรักในคืนนั้นว่า "พี่จะรักเธอให้เหมือนกับสายน้ำชา ซึ่งจะไม่มีวันขาดสาย" นี่คือที่มาของเครื่องดื่มชักกะเย่อ...ตำนานสายใยแห่งความรักครับ


ส่วนผสม : มีส่วนผสมระหว่างผงชาอัสสัมและผงชาซีลอนสำเร็จรูป+นมข้น+นมสด/นมแพะ ชงกับน้ำร้อนเดือด

วิธีการชง : เมื่อใส่ส่วนผสมน้ำชาที่ชงน้ำร้อนแล้ว นมสด นมข้นหวาน ตามสัดส่วนลงในกระบอกชา ซึ่งมี 2 กระบอก ผู้ชงชาหรือชักชาจะถือกระบอกชาไว้ในมือทั้ง 2 ข้าง ๆ ละใบ จากนั้นจะเทชาจากมือบนสู่มือล่าง เป็นการเทชากลับไปกลับมาระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยให้มือที่ถือกระบอกชาด้านหนึ่งอยู่ระดับสูงเหนือศีรษะสุดปลายแขน




        2.โกปี มาจากคำว่า coffee สำเนียงทางใต้เรียกว่าโกปิ๊ โกปี้ โกปี ตามท้องที่กันไป ความนิยมในโกปีนี้มีมากมายในทุกจังหวัดของภาคใต้ โดยเฉพาะโกปีอ้อ หรือกาแฟร้อน และโกปีนม หรือกาแฟใส่นม ซึ่งจะนิยมดื่มแบบร้อนมากกว่าการใส่น้ำแข็งเพื่อให้เย็น

        3.แซลอง มาจากคำว่า ชาร้อน หรือ ซีลอน ที่หมายถึงแหล่งที่มาของชาจากเกาะซีลอน ประเทศศรีลังกา รูปแบบการดื่มคล้ายๆกับโกปี คือ แซลองอ้อ คือชาดำร้อน แซลองนม คือชานมร้อน ซึ่งทั้งสองชนิดมักนิยมกันที่ไม่ใส่น้ำแข็ง

วัฒนธรรมการกินที่ต่อเนื่องจากชาชัก โกปี แซลอง

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าพี่น้องปักษ์ใต้มีความนิยมในเครืองดื่มทั้งสามชนิดนี้ แต่ก็มักจะมีคำกล่าวไว้อย่างหนึ่งว่า ดื่มเปล่าๆเหมือนไม่มีไรมารองถ้วย ฉะนั้นจึงได้มีของกินเพื่อกินพร้อมกับชาชัก โกปี แซลอง นั่นก็คือ โรตี ขนมมัน(ปาท่องโก๋)

       1.โรตี เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ทำจากแป้ง นวดแล้วนำไปทอดหรือปิ้งเป็นแผ่นบางๆ รับประทานเป็นของหวาน หรือรับประทานพร้อมอาหารคาวอื่นๆ ก็ได้ ในประเทศไทยมักจะคุ้นกับโรตีที่ทอดเป็นแผ่นนุ่ม ราดด้วยนมข้นและน้ำตาลทราย เป็นของหวาน คำว่า โรตี เป็นคำศัพท์ที่พบได้ในหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฮินดี, อุรดู, ปัญจาบี, โซมาลี, อินโดนีเซีย และ มลายู ซึ่งล้วนแต่มีความหมายว่า ขนมปัง
        โดยทั่วไปแล้ว คำว่า โรตี นั้น อาจหมายถึง ขนมปัง หรือผลิตภัณฑ์จากแป้งหลากหลายชนิด เช่น จาปาตี และ ผุลกา ซึ่งผลิตภัณฑ์แป้งหรือขนมปังแต่ละอย่างต่างก็มีชื่อเฉพาะแตกต่างกันไป สำหรับในภาษามราฐี มักจะเรียก โรตี ว่า จาปาตี หรือ โปลี ส่วนในคุชรตี เรียกว่า "โรตลี" ในภาษาปัญจาบีนั้น โรตีชนิดที่รับประทานอย่างง่ายๆ จะเรียกว่า ผุลกา (Phulka) และมักจะใช้เรียกขนมปัง โดยมากจะใช้คำนี้หมายถึงแป้งแบนกลมๆ ไม่ขึ้นฟู อย่างที่รับประทานกันทั่วไปในอินเดีย และปากีสถาน ส่วนแป้งแบบใส่ยีสต์ให้ขึ้นฟูนั้น จะเรียกว่า "นาอัน" (naan) ซึ่งเดิมมีกำหนดจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ และเอเชียกลาง บางครั้งชาวตะวันตกจะเรียกโรตีแบบนี้ว่า 'balloon bread' หรือ ขนมปังพอง
        ในมาเลเซีย คำนี้มีความหมายรวมถึงผลิตภัณฑ์แป้งทุกอย่าง รวมทั้งขนมปังอย่างของตะวันตก และขนมปังดั้งเดิมของปัญจาบีด้วย โรตีนั้นส่วนใหญ่จะทำมาจากแป้งข้าวสาลี ทอดบนกระทะแบนหรือโค้งเล็กน้อย เรียกว่า ตาวา (tawa) โรตีก็เหมือนกับขนมปังอื่นๆ ทั่วโลก คือ เป็นอาหารหลัก รับประทานร่วมกับกับข้าวหรืออาหารอื่น อาจทาด้วยเนยใส หรือโยเกิร์ตขาว ก็มี
        ในบ้านเรานั้น คำว่า "โรตี" หมายถึง แป้งชนิดที่เรียกว่า "ไมดา ปะระถา" ซึ่งในภาษามลายู เรียกว่า "โรตี จะไน" และในสิงคโปร์ เรียกว่า "โรตีประตา" ปกติจะโรยหน้าด้วยนมข้นหวาน น้ำตาลทราย บางครั้งก็ใส่ไข่ไก่ลงไปขณะกำลังทอดแป้งบนกระทะ รับประทานขณะร้อนหรืออุ่น ปัจจุบันมีการทำโรตีหลายรสชาติ ที่นิยมกันมากได้แก่การใส่กล้วยหอม (ครึ่งผล หรือหนึ่งผล) โดยนำมาสับเป็นแว่นเล็กๆ แล้วโรยไปบนแป้งโรตีขณะทอดร้อนๆ นอกจากนี้ยังมีโรตีราดแยมผลไม้ ใส่เครื่องปรุงรสอื่นๆ เช่น ช็อกโกแลต กาแฟ และยังมีโรตีพิซซ่า ซึ่ง เป็นการผสมผสานรสชาดตะวันออกและตะวันตกไว้ด้วยกันอีกด้วย
โรตีในไทย มีทั้งในร้านอาหาร และขายตามรถเข็น ผู้ขายจะทอดโรตีตามคำสั่งลูกค้า เมื่อปรุงเสร็จ จะพับและม้วนเป็นท่อนยาว ห่อด้วยกระดาษ หากเป็นโรตีที่มีใส้ ก็จะมีการหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่มเล็กๆพอดีคำ บรรจุด้วยกล่องโฟม ราดนมข้นและน้ำตาลทราย ปัจจุบันพบว่าผู้ขายจำนวนไม่น้อยเป็นชาวเอเชียใต้ ได้แก่ ชาวปากีสถาน อินเดีย หรือบังคลาเทศ ก็มี ราคาโรตีแต่ละร้านจะแตกต่างกันออกไป เริ่มจาก ธรรมดา ปัจจุบัน พ.ศ.2554 ประมาณ10 บาทขึ้นไป จนกระทั่งแบบมีใส้ราคาถึง 40 บาทเลยทีเดียว

        2.ขนมมัน หรือปาท่องโก๋ ขนมมันที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงเอามัน หรือเอาหัวมันมาทำเป็นขนมเลยทีเดียว แต่หมายถึงปาท่องโก๋ดีๆนี่เอง
         ปาท่องโก๋ (จีน: 白糖糕) เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสองชิ้นประกบกันแล้วทอด นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า โดยทานคู่กับกาแฟ, โกโก้, น้ำเต้าหู้ หรือ โจ๊ก
         ปาท่องโก๋ที่คนไทยเรียกนั้น แท้จริงแล้วมีชื่อเรียกว่า อิ่วจาก้วย ตามภาษาแต้จิ๋ว หรือภาษาฮกเกี้ยน อิ่วเจี่ยโก้ย หรือ เจี่ยโก้ย (จีนตัวเต็ม: 油炸粿; จีนตัวย่อ: 油炸粿) โดยมีที่มาจาก สมัยราชวงศ์ซ้อง ที่มีขุนนางกังฉินชื่อว่า "ฉินข้วย" หรือ "ฉินฮุ่ย" (จีนตัวเต็ม: 秦檜; จีนตัวย่อ: 秦桧) มีความอิจฉาริษยา นายทหาร "เยียะเฟย" หรือ แม่ทัพงักฮุย (จีนตัวเต็ม: 岳飛; จีนตัวย่อ: 岳飞) จึงได้วางแผนให้ฮ่องเต้เรียกตัวงักฮุยกลับจากแนวหน้า และ ฉินข้วย ทำให้เขาถึงแก่ชีวิตในเวลาต่อมา ข่าวล่วงรู้ไปถึงประชาชนจึงโกรธแค้นแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ช่วงนั้นชาวจีนนิยมรับประทานแป้งทอดอยู่แล้ว จึงมีคนคิดเอาแป้งสองชิ้นมาประกบกันเพื่อเป็นตัวแทนขุนนางกังฉินกับภรรยาแซ่หวัง แล้วนำมาทอดกินเพื่อระบายความแค้น เรียกว่า “อิ่วจาก้วย” หมายถึง น้ำมันทอดฉินข้วย[1]
         ส่วนที่คนไทย เรียกว่า ปาท่องโก๋ นั้น เพราะจำมาผิด เนื่องจาก สมัยก่อนชาวจีนที่ขายปาท่องโก๋ (ขนมน้ำตาลทรายขาวซึ่งออกเสียงว่า แปะทึ่งกอ หรือ แปะถึ่งโก้) มักจะขายเอิ่วจาก้วยด้วย พอคนขายตะโกนขายปาท่องโก๋ จึงเข้าใจว่า ปาท่องโก๋ คือ แป้งทอดอิ่วจาก้วย นั่นเอง แต่ในพื้นที่ภาคใต้ผู้คนยังคงนิยมเรียกว่า อิ่วเจี่ยโก้ย อยู่หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า เจี่ยโก้ย ตามแบบภาษาฮกเกี้ยน
        
        โดยสรุปความว่าทั้งโรตีและปาท่องโก๋ เป็นขนมของเคียง คู่ไปกับการดื่มชาชัก โกปี และแซลองนั่นเอง ทั้งนี้วิธีการกินก็แล้วแต่ความนิยมชมชอบเป็นการส่วนตัว บางคนก็ชอบจิ้มขนมกับนมข้นหวาน บางคนก็ชอบจิ้มขนมลงในเครื่องดื่มพอเปียกๆแล้วก้กิน บางคนก็ชอบกินเปล่าๆแล้วดื่มเครื่องดื่มตามไป สุดแท้แล้วแต่ความชอบครับ อ้อลืมบอกไป หลังจากดื่มกินของเหล่านี้แล้วมักตบท้ายด้วยน้ำชาร้อนๆอีกสักแก้วครับ ซึ่งก็คงคล้ายๆกับคนไทยภาคอื่นๆน่ะครับ
        นอกจากนี้ขนมต่างๆที่พี่น้องทางใต้นิยมกินพร้อมกับเครื่องดื่มเหล่านี้ยังมีอีกมาก ไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าให้อ่านอีกครับ

***********************************
เรื่องส่งท้าย
เมื่อมีสิ่งดีๆมาเล่าแล้วจึงขอเสริมต่ออีกนิดนึงครับ บางท่านอ่านไปแล้วบางทีคงนึกอยากทานอยากดื่ม ชาชัก โกปี แซลอง โรตี ปาท่องโก๋ กันบ้างผมจึงขอแนะนำร้านดีๆสักหนึ่งร้านเผื่อให้ท่านได้ไปลิ้มรสชาต หรือจะเลือกโทรไปสั่งเผื่อบางทีจะต้องการจัดเลี้ยง งานสัมนา งานสังสรรค์ งานต่างๆ ก็สามารถเรียกใช้บริการกันได้ในราคาที่ประหยัด โทรมานะครับ 083-1203162 , 090-1211078 , 094-8355512 , 085-1109391

เมนูเครื่องดื่มปักษ์ใต้
1.เตฮ์ตาเระค์ หรือชาชัก สูตรลังกาวี
2.โกปี หรือ กาแฟปักษ์ใต้ ทั้งโกปีอ้อ และโกปีนม
3.แซลอง หรือ ชาดำร้อน (แซลองอ้อ) และแซลองนม
4.หน่อบี หรือขมสองอย่าง ทำจากชาและกาแฟพังงา

เมนูเครื่องดื่มชนิดชง
1.ชาดำร้อน
2.ชาดำเย็น
3.ชานมร้อน
4.ชานมเย็น
5.ชาเขียวชัก ชนิดร้อน
6.ชาเขียวชัก ชนิดเย็น
7.ชาเขียวยอดใบชาหอมดอกมะลิ
8.กาแฟดำ ชนิดร้อน (โอยัวะ)
9.กาแฟดำ ชนิดเย็น (โอเลี้ยง)
10.กาแฟนม ชนิดร้อน
11.กาแฟนม ชนิดเย็น
12.กาแฟผสม มอคค่า คาปูชิโน เอสเปรสโซ่ โรบัสต้า
13.ชามะนาว
14.ชาผลไม้
15.ดัทซ์โกโก้
16.โอวัลตินภูเขาไฟ

เมนูเครื่องดื่มประเภทนม (สงวนลิขสิทธิ์ทุกเมนูประเภทนม)
1.นมอันดามันดอกมะลิหอม
2.นมอันดามันสมุนไพร
3.นมชมพูใบเตยหอม
4.นมชมพูสาคูวิลาศ
5.นมมองโกล / นมเปรี้ยวมองโกลผลไม้สด
6.นมอินเดีย / นมหวานเนยหอม
7.นมสยาม / นมสดรสผลไม้ไทย
8.นมบ้านไร่ / นมข้าวโหดหวาน
9.นมถั่วเหลืองหอมดอกมะลิ

เมนูเครื่องดื่มประเภทผลไม้
1.น้ำมะพร้าว
2.น้ำลำไย
3.น้ำสำรอง
4.น้ำสตอเบอรี่
5.น้ำส้ม
6.น้ำมะม่วง
7.น้ำแตงโม
8.น้ำฝรั่ง
9.น้ำสาลี่
10.น้ำแอปเปิ้ล
11.น้ำพุทรา
12.น้ำทับทิม
13.น้ำมังคุด
14.น้ำมะเฟือง
15.น้ำชมพู่น้ำดอกไม้
16.น้ำเสาวรส
17.น้ำมะนาว
18.น้ำกล้วยหอม
19.น้ำกีวี่
20.น้ำองุ่น
21.น้ำแปะก๊วย
22.น้ำเมล็ดบัว
23.น้ำมะตูม
24.น้ำลูกตาล น้ำลูกจาก
25.น้ำลูกหม่อน (มอนโกเบอรี่) น้ำลูกเก๋ากี้ (โกจิเบอรี่)

เมนูเครื่องดื่มประเภทสมุนไพร
1.น้ำดอกมะลิ
2.น้ำดอกอัญชัญ
3.น้ำดอกเก๊กฮวย
4.น้ำดอกกระเจี๊ยบ
5.น้ำดอกกุหลาบ
6.น้ำดอกบัวและเกสร
7.น้ำตะไคร้หอม
8.น้ำใบมะกรูดอ่อน
9.น้ำกระชายดำ
10.น้ำขิงแก่
11.น้ำแครอท
12.น้ำผักผลไม้รวม
13.น้ำมะรุม
14.น้ำมะเขือพวง
15.น้ำใบเตยหอมว่านหางจรเข้

เมนูเครื่องดื่มประเภทธัญพืช
1.น้ำนมถั่วเหลือง
2.น้ำนมเผือก
3.น้ำนมข้าวยาคู
4.น้ำนมข้าวกล้อง
5.น้ำนมข้าวฟ่าง
6.น้ำฟักทอง
7.น้ำงาดำ
8.น้ำงาขาว
9.น้ำนมลูกเขาควาย(กระจับ)

เมนูของหวาน/ขนมหวาน
1.โรตี
2.ปาท่องโก๋
3.วุ้นมะพร้าว วุ้นน้ำตาลมะพร้าว วุ้นกะทิ
4.ขนมปังนึ่งสังขยา
5.ขนมปังปิ้งเนยสด
6.เกี๊ยวกรอบ เกี๊ยวห่อไข่นกกะทา
7.ขนมห่อใบตอง - ขนมกล้วย ขนมใส่ไส้ ขนมฟักทอง ขนมเผือก
8.ขนมเค้ก
9.ขนมคุ้กกี้
10.ซาลาเปา
11.ขนมลีซำ (ขนมวงเนื้อร่วนหวานหอมอร่อย มีที่เกาะสุกร จังหวัดตรัง ที่เดียวเท่านั้น)

สนใจเมนูสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
"อันดามัน คอฟฟี่ แอนด์ ที"
"อันดามัน ชาชัก"
"ชาอันดามัน ต้นตำรับ 2485"
"ชาหอม อันดามัน 2485"
คุณ อ้อม
083-1203162  090-1211078
094-8355512 , 085-1109391
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://kornsiam-trang.blogspot.com นะครับ

สำหรับท่านที่ต้องการเรียนหลักสูตรการทำชาชัก โกปี ขนมหวาน ฯลฯ ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ครับ เพราะทางเรากำลังเปิดสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ท่านจะสามารถเปิดร้านได้เองภายในเวลาไม่เกิน 2 วัน  ท่านจะมีทักษะ มีเส้นทางต่อยอดในอนาคตอย่างแน่นอน สำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนมีคอร์ทดังนี้ครับ

1.คอร์ทการทำชาชัก โกปี แซลอง และเครื่องดื่มชนิดชงกับนมทั้ง 15 ชนิด นอกจากนี้ยังสอนการทำนมท็อปปิ้งที่ใช้ราดบนชาชักซึ่งเป็นสูตรเฉพาะจังหวัดตรังเท่านั้น ที่สำคัญนมท็อปปิ้งนี้ไม่ใช่นมจืดๆธรรมดาๆ แต่ว่ามีรสชาตที่เป็นเอกลักษณ์ใครได้ลองชิมก็ติดใจทันทีครับ
2.คอร์ทการทำกาแฟสด และเครื่องดื่มในร้านกาแฟสด
3.คอร์ทการทำน้ำสมุนไพร น้ำผลไม้ น้ำธัญพืช
4.คอร์ทการทำขนมชนิดต่างๆ

สนใจติดต่อได้ที่ คุณ อ้อม 083-1203162  090-1211078  094-8355512 , 085-1109391

ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

30/12/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น