วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

TEA - เรื่องน่ารู้ของ "ชา"

วัฒนธรรมการดื่มชา เรื่องน่ารู้และที่มาอันแสนยาวไกล
อันดามัน ออริจินอล ทีแอนด์คอฟฟี่ 
(SEASUN ANDAMAN ORIGINAL TEA AND COFFEE)
ชาอันดามัน ชาหอมอันดามัน
(ชาหอมต้นตำรับระดับตำนาน เข้มข้น กลมกล่อม หอมหวานมัน)
บริการเครื่องดื่มประเภทชาทุกชนิดเพื่อจัดเลี้ยงเนื่องในโอกาสต่างๆ
ชาเขียว ชาดำ ชาแดง ชามะนาว ชาสมุนไพชานม ชาธัญพืชาผลไม้ ชาชักมาเลย์
ชาชักลังกาวี ชายอดใบชา ชาอู่หลง ชาผู่เอ๋ชาเจียวกู่หลาน ชาทิกวนอิม ชาหลงจิง ชาขาว 
ชาคุณภาพดี ราคาประหยัด สะอาดปลอดภัย
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ คุณ อ้อม 090-1211078 , 083-1203162

ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้าน ของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอม ที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่างๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน นอกจากนี้ ชา ยังเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า(น้ำที่ไม่ได้ผสมสิ่งใดลงไป)
ชา สามารถแยกอย่างง่ายๆ ได้ 6 ประเภท ได้แก่ ชาขาว ชาเหลือง ชาเขียว ชาอูหลง ชาดำ และชาผูเอ่อร์ แต่ที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำ ซึ่งชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ชาขาวคุณภาพดี ต้องปลูกโดยวิธีพิเศษ ส่วนชาผูเอ่อร์ ซึ่งเป็นชาที่ได้รับการหมักบ่ม ยังใช้เป็นยาได้ด้วย
คำว่า "ชาสมุนไพร" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ของพืชอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมจากต้นชา
คำว่า "ชาแดง" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากชาดำ (ใช้เรียกกันในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น) และน้ำที่ชงจากต้นรอยบอส (Rooibos) ของประเทศแอฟริกาใต้
ในประเทศไทย เครื่องดื่มชาที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก และชาเขียว
ชา ถูกจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูป หลังจากการเก็บเกี่ยว ใบของต้นชาจะถูกทิ้งให้สลด และ "บ่ม" โดย ทำให้เอนไซม์ในใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟิลล์ในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารแทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้น ต้องหยุดการทำงานของเอนไซม์ โดยใช้ความร้อน เพื่อให้หยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น โดยในชาดำ กระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง หากไม่ระมัดระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจจะมีการขึ้นรา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และอันตรายต่อการบริโภค

ชา สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังนี้ต่อไปนี้
  • ชาขาว: ตูมชาและยอดอ่อนชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม เมื่อชงชาแล้วจะได้ครื่องดื่มที่มีสีเหลืองอ่อน
  • ชาเหลือง: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
  • ชาเขียว: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีเขียวอ่อน
  • ชาแดง: ใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง
  • ชาอูหลง: ใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีเขียวทอง
  • ชาดำ: ใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ เครื่องดื่มที่ได้มีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ
  • ชาหมัก: ชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี


ตามตำนาน

ตำนานของจีนเกี่ยวกับชาที่นิยมเล่าขานกันเรื่องหนึ่ง มีอยู่ว่า เมื่อประมาณ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่เสินหนง ฮ่องเต้ในตำนานของจีน ผู้คิดค้นเกษตรกรรม และยาจีน กำลังเสวยน้ำร้อนถ้วยหนึ่งอยู่นั้น ใบไม้จากต้นไม้แถวนั้นก็ได้ร่วงลงในถ้วยใบฮ่องเต้ สีของน้ำในถ้วยก็เปลี่ยนไป ฮ่องเต้ก็ได้เสวยน้ำนั้นอีก และทรงประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่าน้ำนั้นกลับมีรสชาติดี และทรงรู้สึกสดชื่นอีกด้วย อีกตำนาน เล่าว่า ขณะที่เสินหนงฮ่องเต้ทรงกำลังทดลองสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ ด้วยพระองค์เองอยู่นั้น พระองค์ทรงค้นพบว่าสมุนไพรบางชนิดเป็นพิษ แต่ชาก็เป็นยาถอนพิษนั้นได้ ในงานประพันธ์ของ ลู่อวี่  เรื่อง ฉาจิง ก็ได้มีการกล่าวถึงเสินหนงฮ่องเต้เช่นกัน ตำนานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกตำนานหนึ่ง เล่าว่า เทพแห่งเกษตรกรรม ได้เคี้ยวพืชต่างๆ เพื่อทดสอบหาสรรพคุณของสมุนไพร ท่านเทพก็ได้ใช้ใบชาเป็ยาถอนพิษด้วยเช่นกัน
ยังมีอีกตำนานที่ย้อนไปในสมัยราชวงศ์ถัง พระโพธิธรรม ผู้ก่อตั้งนิกายเซน ได้เผลอหลับไปหลังจากการทำสมาธิหน้ากำแพงเป็นเวลาเก้าปี เมื่อท่านตื่นขึ้น ก็ได้ละอายต่อความง่วงของตนเอง จึงตัดเปลือกตาของท่านออกทั้งสองข้าง เปลือกตานั้นได้ตกลงบนพื้นดินและแทงราก ต่อมาจึงเติบโตเป็นต้นชา
แม้ว่าตำนานเหล่านี้จะไม่มีเค้าโครงความเป็นจริง แต่ชาก็มีบทบาทอย่างสูงต่อวัฒนธรรมของชาติเอเชียมาหลายศตวรรษ ในฐานะที่เป็นเครื่องดื่มหลักในชีวิตประจำวัน ยารักษาโรค หรือแม้แต่สัญลักษณ์แสดงฐานะ จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่บ่อยครั้ง ตำนานเหล่านี้จะกำเนิดบนพื้นฐานทางศาสนาและพระมหากษัตริย์ สำหรับชาวจีนรู้จักการบริโภคชามาแล้วกว่าพันปี ชาวบ้านในสมัยราชวงศ์ฮั่นใช้ชาเป็นยารักษาโรค (แม้ว่าการดื่มชาเพื่อช่วยให้กระปรี้กระเปร่านั้นเริ่มขึ้นเมื่อใด) จีนถือเป็นประเทศแรกที่รู้จักการดื่มชา โดยมีหลักฐานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช


ชนิดของชา


ชาดำ

การผลิตชาดำ ทำได้โดยการนำใบชามาทำให้แห้งโดยการรีดน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ใบชาชุ่มชื้นออกมาเพื่อทำให้ใบชาเหี่ยวและอ่อนลีบ โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำใบชาที่แห้งแล้วนั้นมากลิ้งด้วยลูกกลิ้ง บดและฉีก ต่อจากนั้นจึงนำไปหมัก ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักทั้งสิ้นแล้ว จะได้ใบชาที่แห้งสนิท
ชาอูหลง
การผลิตชาอูหลง ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการหมักแต่เพียงครึ่งหนึ่ง จึงทำให้รสชาติและสรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว กระบวนการผลิตชาอูหลงเริ่มจากนำใบชามาทำให้แห้งลีบโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้ง ฉีก และหมักด้วยระยะเวลาสั้น ๆ
ชาผู่เอ๋อ
ชาผู่เอ๋อเป็นชื่อของชนิดชาจีนที่ราคาแพงมากๆชาชนิดนี้มาจากมลฑลยูนาน
ชามะลิ
เป็นชาที่นำชาเขียว (หรืออาจเป็นชาอื่นๆ) มาใส่ดอกมะลิที่รีดน้ำ และกลิ้งแล้ว ใส่ลงไป ปกติถ้าเป็นชาที่คุณภาพต่ำ จะไม่ใช้มะลิแท้ๆมาทำ เพียงแค่แต่งกลิ่นประกอบเพิ่มเท่านั้น ส่วนชามะลิแท้ๆ จะใส่มะลิอบแห้งไปด้วย ทำให้ได้รส และกลิ่นมะลิเต็มตัว ทำให้ราคาของชามะลิแท้จะค่อนข้างแพง
ชาทกวนอิม
เป็นชาจีนที่มีชื่อเสียงที่คนไทยรู้จักดีพอๆกับชามะลิที่มาของชาชนิดนี้มีสองตำนานดังนี้ ตำนานแรกเป็นชาที่เจ้าแม่กวนอิมประทานให้กับชายยากจนคนหนึ่งที่ชื่อนายเว่ยเพราะพระองค์ทอดพระเนตรเห็นเขาได้ทำความดีโดยการช่วยดูแลศาลเจ้าร้างแห่งหนึ่งที่มีรูปหล่อขององค์กวนอิมซึ่งทำด้วยโลหะประดิษฐานอยู่ ศาลเจ้านี้ตั้งในเมืองอานซี มณฑลฟูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) เขาทำไปเพื่อถวายเป็นโพธิสัตวบูชาแต่เนื่องจากขาดเงินทุนทรัพย์ที่จะทำให้ดีกว่านี้ดังนั้นพระองค์จึงประทานชาคุณภาพให้เพื่อนำไปขายเป็นทุนบูรณะศาลเจ้าร้างแห่งนั้น ส่วนตำนานที่สองนั้นมีดังนี้ มันเกิดจากการค้นพบโดยบังเอิญจากชายคนหนึ่งนามว่านายหวางที่ไปเกิดเจอชาชนิดนี้แถวๆใต้ก้อนหินที่เป็นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม ในเมืองซีผิง เลยลองนำไปขยายพันธุ์ดู พอขยายพันธุ์ได้ระยะหนึ่งจึงลองนำไปถวายให้ฮ่องเต่เฉียนหลง พระองค์ทรงโปรดมาก จึงสอบถามที่มา จึงพระราชทานชื่อตามที่มา ชาทิกวนอิมมีหลากหลายชนิด
ชาตะไคร้เตยหอม
เป็นชาที่ไม่ได้ใช้ส่วนผสมจากต้นชาเลย แต่ว่านำพืชที่มีกลิ่นหอม มาหั่นพอประมาณ และอบแห้ง เป็นชาที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง และราคาถูกกว่าชาแท้ๆ แต่รสชาติจะสู้ไม่ได้
ชาใบหม่อน
เป็นชาที่กำลังได้รับความนิยม ไม่แพ้ชาชนิดอื่น โดยสรรพคุณของใบหม่อนจะช่วยป้องกันรักษา โรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ดี อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นๆ สำหรับหม่อนนั้นเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นอาหารของหนอนไหม กลายมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยมของมนุษย์ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้บุกเบิกการค้นคว้าวิจัยการผลิตชาใบหม่อนและสรรพคุณของพืชชนิดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ร่วมกับสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบใบหม่อนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน แคมเฟอรอล และ รูตินนอกจากนั้นยังพบชาใบหม่อนมีสารดีเอ็นเจ มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล  ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ชาเจี่ยวกู้หลาน
เจียวกู่หลานหรือที่คนไทยเรียกว่า "ปัญจขันธุ์" มีสรรพคุณใช้บำรุงร่างกาย ระงับประสาท ช่วยให้นอนหลับ ลดความตื่นเต้น ลดความดันในโลหิต ลดคอเลสเตอรอล และกรดไขมันอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ชะลอความชรา ยืดอายุของเซลล์เพิ่มจำนวนอสุจิ รักษาโรคปวดหัวข้างเดียว ช่วยควบคุมน้ำหนัก ได้โดยไม่ต้องอดอาหาร และช่วยสร้างภูมิต้าน ทานโรคต่าง ๆ เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีสรรพ คุณในการควบคุมการเจริญ ของเซลล์มะเร็ง และสามารถควบคุมการแพร่การเจริญของเซลล์มะเร็งเองได้ รวมทั้งสามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อ HIV
นพ.สมทรง รักษ์เผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดปัญจขันธ์หรือ เจียวกู่หลาน เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา พบมากในประเทศญี่ปุ่น จีน และในไทยสามารถปลูกได้คุณภาพดีที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชไอวีโพรทีเอส ทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่เพิ่มจำนวน มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานในหลอดทดลอง เมื่อทดสอบกับสัตว์ทดลอง ไม่พบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง นอกจากนั้น เมื่อทดสอบในอาสาสมัครให้รับประทานสารสกัดในแคปซูล พบว่า มีความปลอดภัย ทางสถาบันวิจัยสมุนไพรเตรียมขยายผลนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน ทั้งนี้ในญี่ปุ่นและจีนใช้ปัญจขันธ์เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ปวด แก้ไอขับเสมหะ ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
ชาหญ้าหวาน 
ชาขาว 
ชาหลงจิ่ง
ชาเขียว
การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชามาอบไอน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่น ๆ
มีการทำผลิตภัณฑ์ชาหลากหลายชนิดในยุคปัจจุบัน เช่น ชาเย็นพร้อมดื่ม และ ผสมส่วนผสมอย่างอื่นเพื่อแต่งกลิ่นและรส เช่น เนสที ชาโออิชิ

    
ความรู้เพิ่มเติมของชาเขียว

ชาเขียวกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ

  1. การใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี
  2. การใช้ชาเขียวกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด
  3. การใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด ช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม ช่วยต่อต้านมะเร็งตับ
  4. การใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้แห้งจะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด
  5. การใช้ชาเขียวร่วมกับคึ่นฉ่ายจะช่วยในการลดความดันโลหิต
  6. การใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก ลดน้ำตาลในเส้นเลือด
  7. การใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้วิงเวียนศีรษะ ตาลาย
  8. การใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะลดอาการบวมน้ำ ตกขาว และมดลูกอักเสบ
  9. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง
  10. การใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น บำรุงหัวใจ แก้คอแห้ง
  11. การใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะบำรุงสมอง เสริมความจำ
  12. การใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง แสบคอ เสียงแหบ
  13. การใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดการบวมน้ำ
  14. การใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการตับอักเสบ
  15. การใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝันเปียก และยับยั้งการหลั่งเร็ว

การล้างพิษด้วยชาเขียว

ชาเขียว ได้รับการยกย่องว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีสรรพคุณเป็นยาบำบัดมายาวนาน และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย โดยเฉพาะคุณสมบัติที่โดดเด่นของชาเขียวก็ คือ การช่วยล้างพิษออกจากร่างกายได้ลึกถึงระดับเซลล์ สรุปกลไกการทำงานของชาเขียวในการล้างพิษได้ดังนี้
  1. ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของชาเขียวช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ชะลอความชรา ลดขบวนการทำลายสารพันธุกรรมและยับยั้งการก่อมะเร็ง
  2. ความจำเพาะเจาะจงในการกระตุ้นเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ขจัดสารพิษในตับของชาเขียวช่วยเพิ่มขบวนการขจัดสารพิษที่ได้รับจากอาหาร ยา และสารพิษอื่นๆ ได้ดีขึ้น และทำให้สุขภาพของตับดีขึ้นด้วย
  3. ความสามารถในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลมะเร็งของชาเขียว ช่วยลดการเจริญเติบโตของเซลที่ผิดปกติ เนื้องอก และเซลมะเร็งได้
  4. ชาเขียวช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้มีการพัฒนาการทำงานได้ดีขึ้น จึงลดการแทนที่จากแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ส่งผลให้การเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
  5. ช่วยลดคลอเรสเตอรอล LDL และเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดี ชาเขียวจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันอุดตันหลอดเลือดได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจและสมอง
  6. ชาเขียวสามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ และบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ
  7. ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำหนักโดยออกฤทธิ์ร่วมกับ Caffeine ในการเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน ในระหว่างวันของร่างกายให้มากขึ้น

ข้อดีและประโยชน์จากชาเขียว
ต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาเขียวช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือมีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ลดระดับคอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาเขียว ช่วยทำลายคอเลสเทอรอล และกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาเขียวยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย
ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาเขียวสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาเขียวช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น
กลิ่นปากและแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ การดื่มชาเขียวนอกจากจะทำให้ร่างกายอบอุ่นแล้ว ยังช่วยทำให้ลมหายใจสดชื่นและป้องกันการติดเชื้อได้ด้วย อันที่จริงแล้วพบว่าชาเขียวเป็นตัวช่วยยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ต่อสู้กับเชื้อไวรัสในปากโดยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองชี้ว่ายาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากอย่างเดียวนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ผลการศึกษาสรุปว่า สารพอลิฟีนอลส์ในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียถึง 30% และลดการผลิตของสารประกอบที่เป็นสาเหตุทำให้ลมหายใจเหม็นบูด นอกจากนี้ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยป้องกันฟันผุ โดยช่วยยับยั้งแบคทีเรียซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดหินปูนที่มาเกาะฟัน คนส่วนใหญ่จะดื่มชาเขียวหลังอาหาร เพื่อช่วยให้ลมหายใจและกลิ่นปากสะอาดสดชื่น
ป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวี ข้อมูลในวารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์ และโรคภูมิแพ้ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายนตีพิมพ์ไว้ว่า สารแคเทชินในชาเขียวโดยเฉพาะ EGCG มีสรรพคุณป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวี จับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดที่มีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันในร่างกายของคนเราที่เรียกว่า "ทีเซลล์" ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันผลการวิจัยดังกล่าวนี้ นักวิจัยกล่าวว่าจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาชนิดใหม่ เพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวี
ทำความสะอาดพรม นอกจากใบชาแห้งจะเป็นยาดับกลิ่นได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติต่อต้านหรือหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย ก่อนทำความสะอาดพรมด้วยเครื่องดูดฝุ่น ให้โปรยใบชาแห้งบนพรม ให้ทั่วทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง หลังจากนั้นจึงดูดฝุ่นรวมทั้งใบชาทั้งหมด กลิ่นหอมสะอาดของใบชาเขียวจะช่วยทำให้ห้องสดชื่น รวมทั้งทำความสะอาดพรมด้วย
ทำความสะอาดเครื่องครัว เราสามารถใช้กากชาเขียวดับกลิ่นคาวต่าง ๆ ได้ โดยหลังจากใช้เขียงประกอบอาหารแล้ว ให้นำไปล้างน้ำ หลังจากนั้นเกลี่ยใบชาเปียกให้ทั่วเขียง ทิ้งไว้สักพักใหญ่แล้วจึงใช้ใบชาขัดถูเขียงให้ทั่ว และล้างออกด้วยน้ำสะอาด น้ำชาต้มก็สามารถนำมาใช้ล้างทำความสะอาดเขียงและอุปกรณ์เครื่องครัวอื่น ๆ ได้เช่นกัน
ป้องกันสนิม ใช้ใบชาขัดถูหม้อ หรือกะทะเหล็กป้องกันสนิมได้ สารแทนนิน   ในใบชาจะจับตัวกับเหล็กและสร้างสารเคลือบบาง ๆ บนพื้นผิวหม้อหรือกะทะเพื่อป้องกันสนิม
น้ำยาบ้วนปาก กลั้วปากด้วยชาเขียวช่วยทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในปาก สารฟลูออรีนในชาเขียวช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุและเหงือกอักเสบ ไม่จำเป็นต้องใช้ชาเขียวชงครั้งแรกกลั้วปาก ดื่มชาให้ชื่นใจก่อน หลังจากนั้นคุณสามารถใช้ชาเขียวชงครั้งที่สามหรือสี่ได้
ประคบดวงตาให้สดใส นำถุงชาที่เปียกและเย็น ทั้งที่ใช้แล้วหรือถุงชาเก่าที่ไม่ได้ใช้ วางบนเปลือกตาจะช่วยคลายความเมื่อยล้าและทำให้ดวงตาสดใส
ผสมน้ำอาบ นำถุงชาใช้แล้วหรือใบชาใส่ถุงผ้าฝ้ายบาง ๆ มัดให้แน่นแช่ทิ้งไว้ในอ่างอาบน้ำอุ่น น้ำอุ่นผสมน้ำชาจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่น
หมอนใบชา กลิ่นหอมบาง ๆ จากใบชาจะช่วยให้เราหลับสบายขึ้น การดูแลรักษาทำได้ง่ายโดยนำหมอนที่ทำจากใบชาออกตากในที่ร่ม เพื่อระบายอากาศเป็นประจำสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
เป็นเครื่องหอม นำใบชามาเผาเป็นเครื่องหอมจะให้กลิ่นหอมมาก
ยาดับกลิ่นในตู้เย็น ให้นำถุงผ้าฝ้ายบ้าง ๆ บรรจุใบชาหรือถุงชาใช้แล้วใส่ไว้ในตู้เย็น สามารถขจัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาในตู้เย็นได้
ปุ๋ย ให้นำกากชาไปใส่ที่กระถางต้นไม้ ใช้เป็นปุ๋ยแทนได้


ประโยชน์จากชา
นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์พบว่า การดื่มน้ำชา ช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้น ชาบางชนิด เช่น ชาใบหม่อน เจี่ยวกู้หลาน และชาหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย

ข้อห้ามในการดื่มชา

  • สตรีมีครรภ์ หรือ กำลังมีประจำเดือน ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากชา (โดยเฉพาะคุณภาพต่ำ) จะรวมตัวกับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ เช่นธาตุเหล็ก ซึ่งจะทำให้ ผู้นั้นขาดสารอาหารบางชนิดได้
  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี เนื่องจากชาจะไปทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารได้
  • ผู้ป่วยไม่ควรดื่มชา เนื่องจากยาที่กินเข้าไป อาจทำปฏิกิริยากับชานั้นๆได้
  • ไม่ควรดื่มชา ใกล้ๆเวลาอาหาร ควรดื่มหลังอาหารไป2-3ชั่วโมง เนื่องจากจะไปรวมตัวกับสารอาหารสำคัญได้
  • การดื่มชามากเกินไปในแต่ละวันอาจทำให้ท้องผูกได้
  • ไม่ควรดื่มในขณะที่น้ำชามีความร้อนจัดๆ ซึ่งอาจทำให้ปากและลิ้นพองได้
  • ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไทรอยด์ จะมีอาการกระสับกระส่าย ใจเต้นเร็ว มือสั่นอยู่แล้ว การดื่มชาจะทำให้มีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
  • ในรายที่เป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรงดดื่มชา เพราะกาเฟอีนจะทำให้หัวใจทำงานไม่ปกติ คือเต้นเร็วขึ้น (หากชอบดื่มชา ก็อาจเลือกชาชนิดที่สกัดกาเฟอีนออกแล้วก็ได้)
  • คนที่เป็นโคกระเพาะอาหารอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เพราะชาจะกระตู้นให้ผนังกระเพราะอาหารหลั่งน้ำย่อยซึ่งมีสภาวะเป็นกรดมามากกว่าปกติ ทำให้อาการอักเสบยิ่งรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีที่เป็นโรคกระเพาะแต่เลิกดื่มชาไม่ได้ การเติมนมก็มีประโยชน์ เพราะนมยับยั้งแทนนินไม่ให้ออกฤทธิ์กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหาร
  • การดื่มชาแทนอาหารเช้าจะทำให้ ร่างกายขาดสารอาหาร จึงควรเติมนมหรือน้ำตาลอาจเพิ่มเพิ่มคุณค่าได้บ้าง และควรกินอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย
  • การดื่มชาในปริมาณที่เข้มข้นมากๆจะทำให้เกิดอาการท้องผูก และนอนไม่หลับ
  • ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัดมากๆเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ระคายเคืองต่อเซลล์ จะทำให้เกิดโรคมะเร็งสูง
  • การดื่มชาเขียวในปริมาณสูงอาจมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และ ธาตุเหล็กได้
  • ในกรณีที่ดื่มชาเพื่อต้องการเสริมสุขภาพและป้องกันมะเร็ง การเติมนมในชาก็ไม่ได้ผล เพราะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเกิดจากสารแทนนิน แต่การเติมนมลงไปนมจะไปจับกับสารแทนนิน ไม่ให้ออกฤทธิ์
แม้จะมีการวิจัยต่างๆ มากมายที่ระบุว่าสาร EGCG ในคาเทซินซึ่งมีอยู่ในชาจะสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ถึง 50% แต่การทดลองบางแห่งหนึ่งก็พบว่าการ EGCG เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เพราะความสลับซับซ้อนของเอมไซม์และฮอร์โมนของสัตว์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการดื่มชาเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจึงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอดี




หมายเหตุ:บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่องชาจากที่ต่างๆซึ่งยังไม่เป็นข้อยุติทางการแพทย์ ฉะนั้นการบริโภคจึงจำเป็นจะต้องบริโภคด้วยความระมัดระวัง สิ่งสำคัญคือต้องบริโภคให้พอดี และพยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งเป็นทางที่ถูกต้องและได้รับการยอมรับทางสาธารณสุขมากกว่า ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำเนื้อหาใดๆเพื่อใช้เป็นเอกสารทางวิชาการอื่นๆ หากมีข้อผิดพลาดทางเนื้อหาประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้



กรสยาม  (เกรียงไกร) ศรีระกิจ
kornsiam (kriengkrai) srirakij
17 january 2013 @ 19.46 pm
083-1203162 ,  090-1211078


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น